วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

เทคนิคทางการยศาสตร์สำหรับการทำงานที่บ้าน ในช่วงโควิด-19

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย รศ. ดร.สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ 
               สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


การทำงานที่บ้าน (work from home) หรือการทำงานทางไกล (telework) เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากต้องเผชิญในช่วงปิดเมือง เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีนโยบายให้บุคลากรทำงานที่บ้านในช่วงนี้มากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะส่งผลดีในแง่ความปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ขณะเดียวกัน การทำงานที่บ้านก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพในการทำงาน  เนื่องจากการทำงานที่บ้านมักอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วย ซึ่งพนักงานสามารถทำงานในที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งบนโซฟาหรือบนเตียงนอน อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง คอเคล็ด เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ และปัญหาการเมื่อยล้าสายตา

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

COVID-19 : Are you ready? Return to work safely

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

COVID-19 : Are you ready? Return to work safely
พร้อมหรือไม่? กลับมาปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

ในช่วงเวลาของการกลับมาทำงานใหม่ของสถานประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ภายหลังการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดุที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 นั้น เพื่อสนับสนุนการเตรียมการรับมือในเชิงป้องกันการติดเชื้อ และมีวิธีการจัดการทั้งก่อนเข้ามาทำงานใหม่ ระหว่างการทำงาน ตลอดจนเรื่องสำคัญ ๆ อีกมากที่ต้องดำเนินการ สอป.สอม.และภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกันผลิตคู่มือการดำเนินการให้จป.วิชาชีพ และผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ในสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ได้นำไปใช้งาน

COVID-19 Back to the workplace

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

EU guidance for a safe return to the workplace

ระยะนี้ หัวข้อสำคัญที่สนใจกันคือเรื่องการกลับมาทำงานกันใหม่หลังหยุดงานเพราะการ Lockdown ของทางการ (ซึ่งเป็นเรื่องต้องทำ) ว่าจะต้องเตรียมความพร้อมกันมากน้อยเพียงใด เตรียมการเรื่องอะไรกันบ้าง เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

Worker Exposure Risk to COVID-19

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

Worker Exposure Risk to COVID-19


OSHA จัดระดับความเสี่ยงของลูกจ้างอเมริกันต่อการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนาที่จะทำให้ป่วยเป็น COVID-19 ไว้อย่างไร

เรื่องการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ ณ ขณะนี้ (10 เมย.63) คือ 1,439,516 คน (ตัวเลขจาก WHO) จึงน่าวิตกว่าทำไมแพร่ระบาดเร็วกันขนาดนี้ แต่ถ้ามีสติ และคิดถึงความรู้จากเรื่องวิทยาการระบาด ที่ว่าด้วย Agent - Host - Environment แล้ว เรื่องการแพร่ระบาดภายในสถานประกอบกิจการน่าจะเป็นเรื่องที่ “เอาอยู่” นะครับ

โครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่ ISO 39001

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

หารือแนวทางความร่วมมือ "โครงการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน ISO 39001"


โครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่ ISO 39001 โดย ศวปถ./สอป./สรอ./SCG/SHELL/PTT

วันนี้เป็นการประชุมต่อในเรื่องดังกล่าว ได้สาระดีมาก และคิดว่าผลลัพธ์จากโครงการนี้ จะเป็นประโยชน์มหาศาลกับจป.วิชาชีพ และผู้รับผิดชอบงานความปลอดภัยทางถนน


Return to work - are you ready?

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

Return to work - are you ready?

เรื่องการ Lockdowns คงทำได้ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น กระแสข่าวการกลับมาทำงานเช่นเดิมเริ่มแล้ว แต่สิ่งที่กลัว ๆ กัน (ในใจ) คือการกลับมาระบาดอีกครั้งของไวรัสโคโรนา 2019



วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

“Turn Around SHE Management”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย นายอนันต์ สุขแท้, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 
กลุ่มธุรกิจสาธารณูปการและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ บริษัทพีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)"



       ในโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติโรงงานปิโตรเคมี การซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ (Turn Around: TA) เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ นับเป็นภาระกิจหลักในการที่จะทำให้โรงงานสามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เสมือนกับรถยนต์ที่เราขับใช้งานทุกวัน เมื่อถึงระยะเวลาหรือระยะทางตามคำแนะนำของผู้ผลิต ก็ต้องนำเข้าศูนย์บริการเพื่อซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งในโรงงานปิโตรเลียม ปิโตรเคมีเหล่านี้ก้อเช่นเดียวกันเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดก็ต้องหยุดเพื่อมาซ่อม ปรับ เปลี่ยน ต่อเติม ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การทำความสะอาดโดยใช้เครื่อง High Pressure Water Jet, งานเปลี่ยน Catalyst ในถังทำปฏิกิริยา งานซ่อม Tray ในหอกลั่น งาน Hot Work ต่างๆ เป็นต้น 

“Safety Demonstration Station..สร้างการรับรู้ความเสี่ยงให้ผู้ปฏิบัติงาน”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย อัญชลี สุขรักษ์, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 
บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 6"


       “การทำงานสายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความมุ่งหวังสูงสุดคือการทำให้ทุกคนในองค์กรทำงานอย่างปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน เมื่อเกษียณออกไปแล้วมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดี หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) อย่างเราๆ คือการให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงอันตราย เพราะเค้าเหล่านั้นคือคนที่จะ “เลือก”หรือ “ไม่เลือก”ทำในสิ่งที่ปลอดภัยในแต่ละวันด้วยตนเองและผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรกับตนเอง หากเขาเหล่านั้น “เลือกที่จะทำงานอย่างเสี่ยงๆ”อยู่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

“Hand Injury Prevention Program”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย วิชัย จงใจภักดี, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 
บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 3"


       “เป้าหมาย Zero Accident เป็นเป้าหมายที่ทุกองค์กรอยากจะประสบความสำเร็จโรงงานของเราก็เช่นกัน เราเชื่อว่าอุบัติเหตุป้องกันได้และอยากเห็นคนทำงานทุกคนกลับบ้านปลอดภัยทุกวัน จึงพยายามคิดหากลยุทธ์ในการป้องกันการบาดเจ็บของคนทำงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์สถิติอุบัติเหตุพบว่า 55% ของ Injury caseทั้งหมดเกิดที่มือ (Hand injury) จึงได้ทำโครงการรณรงค์สร้างความตระหนัก hand injury ซึ่งจากการรณรงค์นอกจากจะสร้างความตระหนักในการป้องกันการบาดเจ็บที่มือแล้ว ยังส่งผลให้คนทำงานตระหนักถึงการป้องกันการบาดเจ็บในลักษณะอื่น ๆ ตามมาด้วย และที่สำคัญที่สุดเป็นโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วม นำไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินลงทุน”

“....Safety Professional...”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย นายอนุลักษณ์ ถนอมสิทธิกุล, Division Manager



        “..ทำงาน Safety อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามีกลยุทธ์ ที่ดีและตรรกที่ถูกต้อง ตามสิ่ง ที่พวกเราได้ร่ำเรียนเรียนมา มันสามารถต่อยอดได้ หากเรารู้จักโอกาสที่จะนำไปใช้อย่างทันเหตุการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสม.....”