วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

“ความเสี่ยงด้านสุขภาพอนามัยในการทำงาน : ตอนที่ 2 การทำงานเกี่ยวกับความร้อน”

Meet the Professional >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน

โดย ณัฐนิชา  ทองอ่วม  จป.วิชาชีพ / คณะกรรมการสมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย


         “จากบทความการทำงานเกี่ยวกับความร้อน ตอนที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงกลไกของร่างกายของมนุษย์เมื่อสัมผัสความร้อนไว้อย่างคร่าวๆ สำหรับในตอนที่ 2 นี้จะลงเนื้อหาลึกลงไปในส่วนผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานให้ชัดเจนมากขึ้นท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าความร้อนเริ่มมีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  มีอาการและอาการแสดงที่สำคัญเป็นอย่างไร  ต้องตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง หรือเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพอะไรบ้าง  สำหรับการบริหารจัดการในฐานะที่เราเป็น จป.วิชาชีพ ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ”

“ความเสี่ยงด้านสุขภาพอนามัยในการทำงาน : ตอนที่ 1 การทำงานเกี่ยวกับความร้อน”

Meet the Professional >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน

โดย ณัฐนิชา  ทองอ่วม  จป.วิชาชีพ / คณะกรรมการสมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย


         “การทำงานเกี่ยวกับความร้อนมีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก  ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพื่อให้ลูกจ้างปลอดภัยแล้วก็ตาม  แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ทำให้ลูกจ้างหลายคนที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพไม่อาจถูกระบุได้ว่าเป็นโรคจากการทำงาน ”

“อุบัติเหตุหลงเหลืออะไรมากกว่าที่คุณคิด”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย มาฆภรณ์ เพ็ชรเขียว  /  Safety Professional


✈️ “อุบัติเหตุหลงเหลืออะไรมากกว่าที่คุณคิด”

          
       ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์สราวุธ นายกสมาคม ส.อ.ป. ที่เคารพให้มาแบ่งปันประสบการณ์การทำงานที่ประทับใจ และอาจเป็นประโยชน์ต่อคนทำงานด้านนี้ ยินดีอย่างยิ่งและตื่นเต้นเพราะความจำเป็น และความท้าทายที่มีคือ คอมพิวเตอร์ แลปท็อปที่ใช้อยู่ไม่มีแป้นภาษาไทย และตัวเราเองก็ทำงานอยู่ต่างบ้านต่างเมือง..เดินทางบ่อย เพราะหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ต้องดูแล 11 ประเทศในภาพพื้นเอเชียแปซิฟิค.


การสังเกตการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย สวินทร์  พงษ์เก่า  /  Safety Professional


🗣️ สรุปประเด็นสำคัญเรื่อง การสังเกตการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย


           การสังเกตการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าที่จะช่วยให้ท่านในฐานะหัวหน้างานสามารถใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ท่านควบคุมดูแลได้อย่างเหมาะสมและยังเป็นสร้างความผูกพัน ระหว่างหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน) กับ ผู้ปฏิบัติงานในการทำงานร่วมกัน  ช่วยเหลือ สนับสนุน ตลอดจนการยกระดับการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด เทคนิคการสังเกตการปฏิบัติงานนี้จะทำให้หัวหน้างานทราบว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนที่เราบังคับบัญชาอยู่ ปฏิบัติตามที่มอบหมายอย่างไร  และยัง ทราบอีกว่าผู้ปฎิบัติท่านนั้น ทำงานได้ดีเพียงใดอีกด้วย หากหัวหน้างานได้นำเทคนิคดังกล่าวไปใช้อย่างมีระบบตามวงจร PDCA แล้ว เทคนิคดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด


วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

ฝุ่นพิษ PM 2.5 ฆาตรกรที่มองไม่เห็น...ภัยเงียบที่ป้องกันได้

Meet the president >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน

โดย รศ. สราวุธ สุธรรมาสา  /นากยกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
      คุณสนธิ คชวัฒน์   /ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม
      คุณธวัชชัย ชินวิเศษวงศ์  /อุปนายกบริหาร สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯ

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563

การปรับปรุงสภาพการทำงานแบบ Low-hanging Fruit

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย รศ.ปวีณา มีประดิษฐ์ 
อาจารย์สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยบูรพา


🏃 แนวทางการแก้ปัญหาทางกายรศาสตร์โดยการปรับปรุงสภาพการทำงานแบบใช้ต้นทุนน้อย แต่ลดความเสี่ยงได้ เป็นวิธีการที่ควรได้รับการพิจารณาในปัจจุบัน เนื่องจากสถานประกอบกิจการมักจะเข้าใจผิดว่าการแก้ปัญหาทางกายศาสตร์ต้องใช้งบประมาณมาก



วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

การคำนวณลักษณะงานที่มีเวลางานไม่ปกติและการปรับค่าขีดจำกัดการได้รับสัมผัสสารในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Adjusted TLV)

Meet the Academic >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน

เขียนโดย ผศ.ดร. ฐิติวร ชูสง, คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์


🔥 สาระสังเขป 


          ลักษณะงานที่มีเวลางานไม่ปกติมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การทำงานนานกว่าวันละ 8 ชั่วโมง เช่น 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ หรือทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น ขีดจำกัดการได้รับสัมผัสสารในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Adjusted TLV) ควรมีการปรับเมื่อพนักงานต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับสารในร่างกายสูงสุดมีค่าสูงเกินระดับที่ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย


การยศาสตร์กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี
รองผู้อำนวยการสำนักวิจัย, อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์


🏃การยศาสตร์ (Ergonomics) หรือปัจจัยมนุษย์วิศวกรรม (Human Factors Engineering) หมายถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานต่างๆ โดยการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพของมนุษย์มาประสานเข้ากับองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและกลศาสตร์เพื่อนำมาออกแบบและจัดสภาพการปฏิบัติงานให้เกิดความเหมาะสมกับความสามารถและข้อจำกัดของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีไม่เกิดความเมื่อยล้าและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานลงนั่นเอง


การลดอันตรายจากการสัมผัสเสียง ของพนักงานเครื่องเชื่อมอัลตราโซนิค

Meet the Professional >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน, หมวดวิศวกรรมและเทคโนโลยีความปลอดภัย

โดย นายจักรพงษ์ สิงห์ธนาวณิช ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายและเทคนิค บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น


      “กรณีศึกษาการลดเสียงจาก 105 dBA ของเครื่องเชื่อมอัลตราโซนิค ลงเหลือ 80 dBA โดยที่ไม่กระทบต่อเป้าหมายการผลิตชิ้นงานและใช้เงินลงทุนต่อเครื่องไม่สูง ที่สำคัญคือได้ช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยินของพนักงานที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ประเมินค่าไม่ได้หากพนักงานมีการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร”