วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

“คุณเป็นผู้นำในการลดอุบัติเหตุหรือเปล่า?”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ นายอภิวัฒน์ สุนทรมิตรภาพม, ที่ปรึกษาอิสระ "




       “บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ทำงานทางด้าน Safety Leadership Coaching ซึ่งเป็นแนวคิดประยุกต์ศาสตร์ Nero Linguistic Programing (NLP)  ในการสร้างผู้นำธุรกิจมาใช้กับผู้นำความปลอดภัย(safety leadership)เพื่อให้ผู้นำได้คิดและลงมือจัดการความปลอดภัยจากจิตใต้สำนึกเอง”

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

“แนวความคิดการทำงาน จุดเริ่มต้นของ จป.วิชาชีพ”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย วัลลภ อยู่ภิญโญ    บริษัท เอ็มอีอี จำกัด”


 
     การเริ่มต้นทำงาน จป. มือใหม่” ในสถานประกอบการที่ยังไม่เคยมีระบบด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในสถานประกอบการมาก่อน 

       เมื่อคุณได้ถูกคัดเลือกให้มาทำงาน จป.วิชาชีพในสถานประกอบการแห่งหนึ่ง ที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องเริ่มทำระบบอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ฯ ให้ถูกต้องและสอดคล้องตามกฎหมายจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะมีน้องๆ จบใหม่ เข้าไปทำงานได้พักเดียว พากันลาออก เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ทำให้นายจ้างปวดหัว เพราะถ้ารับคนมีประสบการณ์มาก ค่าจ้างก็สูงดังนั้น จึงมาแนะนำน้อง จป.วิชาชีพที่จบใหม่...

“Safety benchmarking”

Meet the Professional >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย นายวรากร  เดชะ, Vice President"



     “การรายงานสถิติอัตราการเกินอุบัติเหตุเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานความปลอด เพื่อประเมินหรือวัดผลความสำเร็จด้าน Lagging ซึ่งในแต่ละกลุ่อุตสาหกรรมจะมีทิศทางการเกิดอุบัติเหตุแตกต่างกันอย่างไร มีการรายงานเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ (Benchmarking) และนำมาพิจารณากำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่แต่ละองค์กรจะพัฒนางานต่อไปสู่ Zero accident” 

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

เทคนิคทางการยศาสตร์สำหรับการทำงานที่บ้าน ในช่วงโควิด-19

Meet the Academic >> หมวดการยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทำงาน

เขียนโดย รศ. ดร.สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ 
               สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


การทำงานที่บ้าน (work from home) หรือการทำงานทางไกล (telework) เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากต้องเผชิญในช่วงปิดเมือง เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีนโยบายให้บุคลากรทำงานที่บ้านในช่วงนี้มากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะส่งผลดีในแง่ความปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ขณะเดียวกัน การทำงานที่บ้านก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพในการทำงาน  เนื่องจากการทำงานที่บ้านมักอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาช่วย ซึ่งพนักงานสามารถทำงานในที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งบนโซฟาหรือบนเตียงนอน อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดหลังส่วนล่าง คอเคล็ด เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ และปัญหาการเมื่อยล้าสายตา

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

COVID-19 : Are you ready? Return to work safely

Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน

โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา, 
        นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"

COVID-19 : Are you ready? Return to work safely
พร้อมหรือไม่? กลับมาปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

ในช่วงเวลาของการกลับมาทำงานใหม่ของสถานประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ภายหลังการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดุที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 นั้น เพื่อสนับสนุนการเตรียมการรับมือในเชิงป้องกันการติดเชื้อ และมีวิธีการจัดการทั้งก่อนเข้ามาทำงานใหม่ ระหว่างการทำงาน ตลอดจนเรื่องสำคัญ ๆ อีกมากที่ต้องดำเนินการ สอป.สอม.และภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกันผลิตคู่มือการดำเนินการให้จป.วิชาชีพ และผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ในสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ได้นำไปใช้งาน