Meet the president >> หมวดการบริหารจัดการ และระบบมาตรฐาน
โดย “ รศ.ดร.สราวุธ สุธรรมาสา,นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (สอป.)"
เรื่องการ Lockdowns คงทำได้ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น กระแสข่าวการกลับมาทำงานเช่นเดิมเริ่มแล้ว แต่สิ่งที่กลัว ๆ กัน (ในใจ) คือการกลับมาระบาดอีกครั้งของไวรัสโคโรนา 2019
การเตรียมความพร้อมของจป.วิชาชีพ จึงมีความสำคัญมาก ต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ควรทบทวนว่าปัจจุบันเรา (สถานประกอบกิจการ) ทำได้ดีแล้วหรือยัง ยังทำต่อได้ไหม หรือถ้าไม่ได้ จะวางมาตรการหรือระบบอย่างไรที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้
1. สถานที่/สิ่งที่ต้องจัดการ เช่น
- รถรับส่ง
- สถานที่ทำงาน
- โรงอาหาร
- ห้องน้ำ
- ห้องพยาบาล
- ห้องแยกคนที่สงสัย
2. เรื่องที่ต้องจัดการ เช่น
- Self declaration
- Social distancing
- ความถี่และพื้นผิวที่ต้องทำความสะอาด
- หน้ากากอนามัย
- การสื่อสาร
- การเฝ้าระวัง การควบคุม และการกำกับ
- การจัดการเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อและหรือป่วยเป็น COVID-19
- การจัดการผู้รับเหมา ผู้เยี่ยมเยียน ลูกค้า
3. ยกตัวอย่างแนวทางการเตรียมการรับมือ
- งานใดที่ยังคง Work from home ได้ ก็ควรคงไว้ต่อไป
- รถรับส่งพนักงาน (แน่ใจว่าคนขับปลอดเชื้อ เช็ดทำความสะอาดก่อนและหลังบริการ จัดให้นั่งยึดหลัก Social distancing กรณีรถตู้ให้มีคนปิดเปิดคนเดียวนั่งตรงประตูเข้าออกรถ ทุกคนใส่หน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์พร้อมบริการ งดการสนทนาหรือมีน้อยสุด)
- ในที่ทำงาน (ในตัวโรงงาน) เช่น พิจารณาเรื่องกำหนดจุดทำงาน/วิธีทำงานที่ยึดหลัก Social distancing จุดบริการเจลล้างมือการสวมหน้ากากอนามัย ความถี่ของการทำความสะอาดพื้นผิวที่พนักงานมีโอกาสสัมผัส วิธีการแจ้งหากสงสัยอาการและการตอบคำถามอย่างรวดเร็ว
- ที่โรงอาหาร เช่นความถี่ในการทำความสะอาด ชี้บ่งพื้นผิวที่ต้องเน้นการทำความสะอาด เปิดประตูให้เข้าออกโดยไม่ต้องใช้มือ จัดให้มีเจลพร้อม ณ จุดต่าง ๆ การจัดที่นั่งตาม Social distancing และการกระจายกันออกมารับประทานอาหาร (เหลี่ยมเวลา)
- ที่สำนักงาน เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวโต๊ทำงานและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน (เช่นโทรศัพท์ จุดบริการเครื่องดื่ม เครื่องถ่ายสำเนา เครื่องสแกนเอกสาร) การจัดที่นั่งตาม Social distancing
- ที่ห้องน้ำ เช่น เปิดประตูทางเข้าไว้ตลอด ทำความสะอาดลูกบิด มือจับ ปิดฝาครอบทุกครั้งหลังใช้งาน เจอแอลกอฮอล์หรือสบู่พร้อมให้บริการ
- ก่อนเข้าที่ทำงาน เช่น หากทำได้ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มี Self declaration ว่าตนเองปลอดภัย ล้างมือ)
- ระหว่างการทำงาน เช่น การเฝ้าดูแลการสวมใส่หน้ากากอนามัย เรื่อง Social distancing
- การจัดการกับหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว
4. แนะนำให้นำคู่มือการจัดการ COVID-19 สำหรับสถานประกอบกิจการ
จัดทำโดยสอป.มาศึกษา แล้วออกแบบ checklist เป็นรายการที่ต้องตรวจสอบดูว่าเรา (สปก.) ได้ทำอะไรไปมากน้อยเพียงใด อะไรที่ต้องเติม อะไรที่ต้องคงไว้ รับรองคู่มือนี้ช่วยได้แน่นอน http://www.ohswa.or.th/news/94
จำไว้ว่า เรื่องการติดต่อหรือการได้รับเชื้อไวรัสนั้น จัดการได้ง่าย ๆ ด้วยความรู้พื้นฐานด้านสาธารณสุข (ที่จป.วิชาชีพมีอยู่แล้ว) ไม่ได้ต้องการหรืออาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอะไรเลย ขอเพียงมีสมาธิไตร่ตรองให้รอบคอบ ก็เอาอยู่แน่นอน
เตรียมพบกับคู่มือการดำเนินงานเพื่อ Return to Work และคู่มือการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) ของสอป.และสอม.ในเร็ววันนี้
**********************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น