Meet the Professional >> หมวดการดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน
โดย ณัฐนิชา ทองอ่วม จป.วิชาชีพ / คณะกรรมการสมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย
“จากบทความการทำงานเกี่ยวกับความร้อน ตอนที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงกลไกของร่างกายของมนุษย์เมื่อสัมผัสความร้อนไว้อย่างคร่าวๆ สำหรับในตอนที่ 2 นี้จะลงเนื้อหาลึกลงไปในส่วนผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานให้ชัดเจนมากขึ้นท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าความร้อนเริ่มมีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน มีอาการและอาการแสดงที่สำคัญเป็นอย่างไร ต้องตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง หรือเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพอะไรบ้าง สำหรับการบริหารจัดการในฐานะที่เราเป็น จป.วิชาชีพ ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ”
กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์ให้สมดุล (Homeostasis) ถูกควบคุมโดยสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งจะไปควบคุมการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกายหรือที่เรียกว่า “เมตาบอลิซึม” และควบคุมการทำงานของระบบประสาท(Nervous System) ที่ควบคุมหลอดเลือด ต่อมเหงื่อ กล้ามเนื้อต่างๆ นับว่าเป็นกลไกที่ซับซ้อนมากมายเลยทีเดียว
เมื่อมีอุณหภูมิภายนอกมากระทบผิวหนังไม่ว่าร้อนหรือเย็นร่างกายจะเกิดกลไกการรักษาสมดุลแบบอัตโนมัติโดยลดเมตาบอลิซึมลง หลอดเลือดขยายตัว ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อมากขึ้น เพิ่มการระเหยพาความร้อนออกทางผิวหนังและการหายใจ เพื่อให้อุณหภูมิในเลือดของร่างกายนั้นคงที่ (Body Temperature) ปกติ 37 องศาเซลเซียส
แต่ถ้าการระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ดี เช่น อุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงมาก กิจกรรมในการทำงานเป็นงานที่ใช้เมตาบอลิซึมสูง ก็จะส่งผลกระทบให้กลไกการรักษาสมดุลอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอธิบายง่ายๆได้ดังนี้
1) ร่างกายจะขับเหงื่อออกปริมาณมากขึ้น ซึ่งเหงื่อที่ออกมา คือ น้ำและเกลือแร่ เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำปริมาณมาก หรือสูญเสียต่อเนื่องโดยไม่มีปริมาณน้ำเข้าร่างกายอย่างพอเพียงจะส่งผลให้ท่อไตดูดน้ำกลับได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่ กระหายน้ำ ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผิวหนังแห้ง ปากแห้ง มีไข้ สามารถตรวจดูภาวะความเสื่อมของไตได้จากการตรวจเลือดดูค่า “Creatinine”(ค่าปกติในผู้ชายและผู้หญิงจะแตกต่างกัน)
2) การสูญเสียเกลือแร่ต้องตรวจเลือดดูค่า “Electrolyte” ประกอบด้วยโซเดียม, โปแตสเซียม , คลอไรด์ และไบคาร์บอเนตหรือคาร์บอนไดออกไซด์ หากเกลือในร่างกายผันผวน (Electrolyte Imbalance) จะส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำค่า pH ในเลือดเปลี่ยนแปลง ความดันโลหิตผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นตะคริว ชัก สับสน หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียนยังพบว่า ปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความร้อนไม่ได้พบเฉพาะในสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น งานก่อสร้าง งานหลอมโลหะ งานเหมืองแร่ เท่านั้น แต่สามารถพบได้ในทุกๆกิจกรรมของการทำงาน เช่น พนักงานซ่อมบำรุงทำงานอยู่ใน Maintenance Shop , พนักงานขับรถยกที่ต้องเดินรถทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร , พนักงานฝ่ายผลิตที่อยู่ในอาคารที่มีระบบระบายอากาศไม่เหมาะสม , พนักงานที่ต้องเข้าในทำงานในพื้นที่อับอากาศ , คนสวน , แม่บ้าน , รปภ. ฯลฯ หรือแม้กระทั่งการจัดเวลาพักที่สถานประกอบกิจการจัดให้พนักงานไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลหรือการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากการทำงานยังไม่สมบูรณ์ เช่น การออกกำลังกาย งานอดิเรก ลักษณะที่อยู่อาศัย ปริมาณการดื่มน้ำ และการเข้าห้องน้ำเพื่อขับปัสสาวะระหว่างวัน การใช้ยาเพื่อรักษาโรคประจำตัว ฯลฯ ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นมาตรวจรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้สิทธิ์ประกันชีวิต และประกันสังคม เพราะเข้าใจว่าเป็นจากโรคส่วนบุคคล และไม่ถูกรายงานแก่ จป.วิชาชีพ
ทั้งนี้ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จป.วิชาชีพ สามารถนำมาประเมินได้ว่าพนักงานท่านนั้นเหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่นั้นหรือไม่โดยการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน การดักจับข้อมูลที่ปลายทาง เช่น ตรวจสอบประวัติคนที่ลาป่วยด้วยอาการที่อาจเข้าข่าย กรณีที่มีห้องพยาบาลและมีบุคลากรทางการแพทย์มาประจำควรจัดให้มีการเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วย มีการรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพโดยการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกกิจกรรม ส่วนการตรวจวัดระดับความร้อนและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยต่อคนที่ทำงานจะกล่าวถึงในตอนต่อๆไปค่ะ
เมื่อมีอุณหภูมิภายนอกมากระทบผิวหนังไม่ว่าร้อนหรือเย็นร่างกายจะเกิดกลไกการรักษาสมดุลแบบอัตโนมัติโดยลดเมตาบอลิซึมลง หลอดเลือดขยายตัว ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อมากขึ้น เพิ่มการระเหยพาความร้อนออกทางผิวหนังและการหายใจ เพื่อให้อุณหภูมิในเลือดของร่างกายนั้นคงที่ (Body Temperature) ปกติ 37 องศาเซลเซียส
แต่ถ้าการระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ดี เช่น อุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงมาก กิจกรรมในการทำงานเป็นงานที่ใช้เมตาบอลิซึมสูง ก็จะส่งผลกระทบให้กลไกการรักษาสมดุลอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอธิบายง่ายๆได้ดังนี้
1) ร่างกายจะขับเหงื่อออกปริมาณมากขึ้น ซึ่งเหงื่อที่ออกมา คือ น้ำและเกลือแร่ เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำปริมาณมาก หรือสูญเสียต่อเนื่องโดยไม่มีปริมาณน้ำเข้าร่างกายอย่างพอเพียงจะส่งผลให้ท่อไตดูดน้ำกลับได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่ กระหายน้ำ ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผิวหนังแห้ง ปากแห้ง มีไข้ สามารถตรวจดูภาวะความเสื่อมของไตได้จากการตรวจเลือดดูค่า “Creatinine”(ค่าปกติในผู้ชายและผู้หญิงจะแตกต่างกัน)
2) การสูญเสียเกลือแร่ต้องตรวจเลือดดูค่า “Electrolyte” ประกอบด้วยโซเดียม, โปแตสเซียม , คลอไรด์ และไบคาร์บอเนตหรือคาร์บอนไดออกไซด์ หากเกลือในร่างกายผันผวน (Electrolyte Imbalance) จะส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำค่า pH ในเลือดเปลี่ยนแปลง ความดันโลหิตผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นตะคริว ชัก สับสน หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้
ท่านจะเห็นได้ว่าจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จป.วิชาชีพ ก็สามารถประเมินสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้อย่างคร่าวๆว่าเริ่มมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความร้อนแล้วหรือยังจากอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกและอาการแสดงที่ตรวจพบได้จากนั้นให้ส่งต่อบุคลากรทางการแพทย์ด้านอาชีวเวชกรรมเพื่อตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง เช่น การตรวจเลือด และการซักประวัติเพิ่มเติม เป็นต้น
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เขียนยังพบว่า ปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความร้อนไม่ได้พบเฉพาะในสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น งานก่อสร้าง งานหลอมโลหะ งานเหมืองแร่ เท่านั้น แต่สามารถพบได้ในทุกๆกิจกรรมของการทำงาน เช่น พนักงานซ่อมบำรุงทำงานอยู่ใน Maintenance Shop , พนักงานขับรถยกที่ต้องเดินรถทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร , พนักงานฝ่ายผลิตที่อยู่ในอาคารที่มีระบบระบายอากาศไม่เหมาะสม , พนักงานที่ต้องเข้าในทำงานในพื้นที่อับอากาศ , คนสวน , แม่บ้าน , รปภ. ฯลฯ หรือแม้กระทั่งการจัดเวลาพักที่สถานประกอบกิจการจัดให้พนักงานไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลหรือการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากการทำงานยังไม่สมบูรณ์ เช่น การออกกำลังกาย งานอดิเรก ลักษณะที่อยู่อาศัย ปริมาณการดื่มน้ำ และการเข้าห้องน้ำเพื่อขับปัสสาวะระหว่างวัน การใช้ยาเพื่อรักษาโรคประจำตัว ฯลฯ ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นมาตรวจรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้สิทธิ์ประกันชีวิต และประกันสังคม เพราะเข้าใจว่าเป็นจากโรคส่วนบุคคล และไม่ถูกรายงานแก่ จป.วิชาชีพ
ทั้งนี้ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จป.วิชาชีพ สามารถนำมาประเมินได้ว่าพนักงานท่านนั้นเหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่นั้นหรือไม่โดยการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน การดักจับข้อมูลที่ปลายทาง เช่น ตรวจสอบประวัติคนที่ลาป่วยด้วยอาการที่อาจเข้าข่าย กรณีที่มีห้องพยาบาลและมีบุคลากรทางการแพทย์มาประจำควรจัดให้มีการเฝ้าระวังภาวะเจ็บป่วย มีการรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพโดยการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกกิจกรรม ส่วนการตรวจวัดระดับความร้อนและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยต่อคนที่ทำงานจะกล่าวถึงในตอนต่อๆไปค่ะ
**********************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น